วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

น้ำว่านหางจระเข้
น้ำว่านหางจระเข้

           ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น
          คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย
          ว่านหางจระเข้เป็นพืชชนิดหนึ่งที่พืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 10- 100 ซม.(24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม. (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว) ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น

  ประโยชน์ของน้ำว่านหางจระเข้
          1. เป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ น้ำว่านหางจระเข้ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาระบายจะช่วยบรรเทาความผิดปกติที่เกิดจากระบบเหล่านี้ได้ โดยสารอาหารในว่านหางจระเข้จะช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้การย่อยอาหารและการขับถ่ายของเราดีขึ้น
          2. แก้ท้องอืด  การศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอิหร่านเผยว่า น้ำว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องอืดในกลุ่มผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้ดี อีกทั้งส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ยังจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้ลำไส้ แก้ปัญหาท้องผูกในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งเมื่อระบบขับถ่ายของคนไข้เริ่มดีขึ้น อาการท้องอืด แน่นท้องที่เกิดเพราะลำไส้แปรปรวนก็จะลดน้อยลงตามลำดับ
          3. บรรเทาอาการกรดไหลย้อน น้ำว่านหางจระเข้สามารถช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกเพราะกรดไหลย้อนได้ด้วยนะคะ เนื่องจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เย็น และวุ้นของว่านหางจระเข้ก็มีส่วนช่วยจัดการกรดเกินในกระเพาะอาหารเราได้ด้วย ดังนั้นคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะลองดื่มน้ำว่านหางจระเข้เพื่อบรรเทาอาการแทนยาบ้างก็ได้
          4. ล้างพิษ สรรพคุณเด่นของว่านหางจระเข้ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือสรรพคุณด้านล้างพิษ โดยมีการศึกษาจากหลายประเทศที่เห็นพ้องต้องกันว่า ตัววุ้นของว่านหางจระเข้คืออาวุธสำคัญที่ช่วยพาเอาสิ่งตกค้างหรือสารพิษที่ลอยนวลอยู่ตามลำไส้ออกไปจากร่างกายเรา และวุ้นว่านหางจระเข้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ให้มีประสิทธิภาพขึ้น นอกจากนี้ โพแทสเซียมที่มีอยู่ในว่านหางจระเข้ยังดีต่อการทำงานของตับและไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในการคัดกรองและกำจัดสารพิษในร่างกายอีกด้วย
          5. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาที่พบว่า น้ำว่านหางจระเข้สามารถใช้เป็นตัวช่วยลดระดับกลูโคสในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลในเลือดเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนักวิจัยได้อธิบายเหตุผลว่า ในว่านหางจระเข้มีแร่ธาตุที่ดีต่อเลือดอยู่หลายชนิด ทั้งโครเมียม แมกนีเซียม สังกะสี และแมงกานีส ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยควบคุมอินซูลินในเลือดได้ดี ทว่าการจะนำน้ำว่านหางจระเข้มาใช้เป็นยาลดน้ำตาลในเลือดอย่างจริงจังคงต้องทำการวิจัยกันต่อไปอีกในอนาคต
          6. ลดความเสี่ยงโรคเหงือกอักเสบ ด้วยคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบในร่างกาย ทำให้มีนักวิจัยจากอินเดียนำว่านหางจระเข้ไปศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในช่องปาก ซึ่งผลการวิจัยก็ทำให้ทราบว่า น้ำว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติช่วยลดคราบพลัคและจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับน้ำยาบ้วนปากเลยทีเดียว ที่สำคัญน้ำว่านหางจระเข้ยังใช้บ้วนปากได้โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ อีกด้วย และเมื่อแบคทีเรียและคราบพลัคในช่องปากลดจำนวนลง โอกาสเกิดโรคเหงือกอักเสบก็จะลดน้อยลงไบ
         7. ลดอาการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากแร่ธาตุและวิตามินแล้ว ในว่านหางจระเข้ยังมีโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งถือเป็นสารที่ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกา­­­ย และเจ้าสารชนิดนี้จะเข้าไปชะลอการอักเสบและช่วยกระตุ้นการทำงานของ­­­ระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้การอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายบรรเทาลงได้
         8. ช่วยลดคอเลสเตอรอล ดีต่อหัวใจ ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า เมื่อให้อาสาสมัครที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ดื่มน้ำว่านหางจระเข้ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดของอาสาสมัครทุกคนลดลงราว 15% อีกทั้งผลการศีกษาจากประเทศอิหร่านยังพบด้วยว่า สารในว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยป้องกันภาวะไขมันเกาะจับเส้นเลือดได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้ไขมันในกระแสเลือดลดน้อยลงด้วย ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ เลือดก็จะสูบฉีดเข้าสู่หัวใจได้อย่างเป็นปกติดี ไม่มีอะไรมาขวางให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
         9. ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เห็นเป็นสมุนไพรหาง่ายแบบนี้แต่รู้ไหมว่าว่านหางจระเข้เป็นแหล่งคอลลาเจนและโปรตีนที่ดีมาก ๆ ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในการสร้างกล้ามเนื้อในคนที่ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้ออยู่แล้ว และโปรตีนในว่านหางจระเข้ยังจะช่วยกระตุ้นความตื่นตัวของร่างกาย และเร่งการทำงานของระบบเผาผลาญมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อการลดน้ำหนักไปด้วยในตัว แต่ทั้งนี้ประโยชน์ดังกล่าวจะเห็นผลได้ชัดกับคนที่ควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
         10. ช่วยลดน้ำหนัก จากสรรพคุณในด้านช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด และด้วยคุณสมบัติช่วยล้างพิษ กระตุ้นการขับถ่าย จึงทำให้ว่านหางจระเข้เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้ว่านหางจระเข้เองก็มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะเข้าไปส่งเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายให้มีความแข็งแกร่ง ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นคนที่ลดน้ำหนักอยู่จะดื่มน้ำว่านหางจระเข้เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจลดอ้วนของตัวเองก็ได้ ทว่าก็พยายามเลือกดื่มน้ำว่านหางจระเข้ที่หวานน้อย หรือมีปริมาณน้ำตาลไม่มาก

น้ำว่านหางจระเข้

วิธีทำน้ำว่านหางจระเข้
ส่วนผสม 
           1. เนื้อว่านหางจระเข้(หั่นเป็นชิ้น 200 กรัม) ล้างให้สะอาดจนหมดเมือก
           2. น้ำเปล่า 3 ถ้วย
           3. น้ำตาลทรายแดง 3/4 ถ้วย
วิธีทำ
           1. นำเนื้อว่านหางจระเข้ไปต้มด้วยไฟกลาง 10 - 15 นาที จนเนื้อว่านสุก
           2. ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไป พอน้ำตาลทรายละลาย ปิดไฟ
           3. รินใส่แก้วน้ำแข็ง พร้อมเสิร์ฟ

วิธีทำน้ำว่านหางจระเข้ใบเตย
ส่วนผสม
           1. เนื้อว่านหางจระเข้หั่นเรียบร้อย 2 ขีด
           2. ในเตย 10 ใบ
           3. น้ำตาลทราย 3 ขีด
           4. น้ำสะอาด 1,500 มล.
           5. น้ำคั้นใบเตย 1 ช้อน
วิธีทำ
           1. นำน้ำใส่หม้อ ใส่ใบเตยต้มให้กลิ่นใบเตยออกมีกลิ่นหอม ตักใบเตยออก ใส่น้ำตาลทราย ต้มใหเละลาย
           2. พอน้ำตาลละลาย ใส่เนื้อว่านที่หั่นไว้ ต้มประมาณ 5 นาที ให้เนื้อว่านสุก
           3. ใส่น้ำคั้นใบเตย ปิดไฟทันที
           4. ทิ้งให้เย็น ตักเสิร์ฟ หรือกินขณะอุ่นๆก็ได้

สูตรน้ำว่านหางจระเข้ช่วยลดน้ำหนัก
1. ว่านหางจระเข้+มะนาว+น้ำผึ้ง
          ขูดวุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะมาผสมในน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ บีบมะนาวลงไป 1 ลูก และเติมความหวานด้วยน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา คนทุกอย่างให้เข้ากันดี และดื่มทันทีหลังตื่นนอน สูตรนี้จะช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ได้อย่างเต็มที่ และทางที่ดีหลังจากดื่มน้ำว่านหางจระเข้แก้วนี้แล้วก็ควรปล่อยให้ท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมงด้วยนะคะ
2. ว่านหางจระเข้+ส้ม+สตรอว์เบอร์รี
           สูตรนี้ก็ช่วยในการดีท็อกซ์และช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่มากขึ้น โดยนำสตรอว์เบอร์รีสไลด์ 3 ชิ้น ปั่นกับน้ำส้มคั้น 1 แก้ว และวุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ปั่นทุกอย่างให้ละเอียดแล้วดื่มหลังอาหารเช้า
3. ว่านหางจระเข้+แตงกวา+สับปะรด
            สำหรับคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารได้ดีเท่าที่ควร และก่อให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูกบ่อย ๆ ให้ลองนำแตงกวาครึ่งลูก สับปะรด 1 เสี้ยว วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ ปั่นให้เข้ากันดีแล้วดื่มหลังมื้อเที่ยง สูตรนี้จะช่วยย่อยอาหารได้ดี และช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารที่เรากินได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ว่านหางจระเข้+ชาขิง
            ชาขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยลดไขมันในเลือด และเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เมื่อนำมาปั่นรวมกับว่านหางจระเข้ที่มีฤทธิ์เย็น แต่มีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือดได้เช่นกัน จึงเกิดเป็นสูตรน้ำว่านหางจระเข้ที่มีความสมดุลเป็นอย่างมาก โดยวิธีทำก็ไม่ยาก เพียงนำขิง 1 แว่นมาต้มกับน้ำร้อน แล้วผสมวุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะลงไปคนให้เข้ากัน

ข้อควรระวังในการดื่มน้ำว่านหางจระเข้
           - ไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เนื่องจากการได้รับสารอะโลอิน (aloin) ที่มากเกินกว่าร่างกายจะรับไหวนั่นเอง ซึ่งสารชนิดนี้เป็นหนึ่งในสารที่อยู่ในยาถ่าย และหากใช้ติดต่อกันในระยะยาวก็อาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ­­­บางชนิด โดยเฉพาะโพแทสเซียมได้ค่ะ ดังนั้นปริมาณน้ำว่านหางจระเข้ที่คนเราสามารถดื่มได้ต่อวันก็อยู่ที่ไม่เกิน 12 ช้อนโต๊ะค่ะ
           - ผู้ที่มีอาการแพ้หัวหอม กระเทียม หรือเกสรทิวลิป อาจมีอาการแพ้ว่านหางจระเข้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อนดีกว่า
           - ไม่ควรดื่มน้ำว่านหางจระเข้ขณะที่เป็นประจำเดือน หรือขณะที่ตั้งครรภ์
           - ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำว่านหางจระเข้หากมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ริดสีดวงทวาร หรือมีการเสื่อมสภาพของตับและน้ำดี

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
https://health.kapook.com
https://www.postsod.com/aloe-vera-juice-herbal-health-drink

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

น้ำตะไคร้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ชื่อสามัญ             Lemongrass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf 
ชื่อวงศ์                POACEAE หรือ GRAMINEAE
          ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
          ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ
สรรพคุณของตะไคร้
       1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
       2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
       3. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
       4. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
       5. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
       6. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลม ใบ (หัวตะไคร้)
       7. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
       8. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
       9. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
       10.ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
       11. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
       12.มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
       13. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
       14. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)

วิธีทำน้ำตะไคร้
วิธีทำต้มน้ำในหม้อ ด้วยไฟกลางจนเดือด
1. ใส่โคนตะไคร้ลงต้ม นาน 7 นาที
2. ตามด้วยใบตะไคร้ ต้มต่ออีก 3 นาที พอมีกลิ่นหอมของตะไคร้ และน้ำเป็นสีเขียวอ่อนๆ
ปิดไฟ แล้วกรองด้วยกระชอน เทใส่เหยือก
3. รินใส่แก้วน้ำแข็ง ตกแต่งด้วยต้นตะไคร้ เติมน้ำเชื่อมปริมาณตามชอบ พร้อมเสิร์ฟ

วิธีทําน้ําตะไคร้ใบเตย
           การทําน้ําตะไคร้ใบเตยนั้นอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 2 ต้น / ใบเตย 3 ใบ / น้ำ 1-2 ลิตร / น้ำตาลแดง 2 ช้อนชา (จะใส่หรือไม่ก็ได้)
           1. นำตะไคร้มาทุบให้แหลกพอประมาณ แล้วใช้ใบเตยมัดตะไคร้ไว้ให้เป็นก้อน
           2. ใส่ตะไคร้และใบเตยลงไปในหม้อแล้วเติมน้ำ 1 ถึง 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือดสักประมาณ 5 นาที เป็นอันเสร็จสำหรับวิธีการทําน้ํา ตะไคร้
           โดยตะไคร้และใบเตยชุดเดียวกัน สามารถเติมน้ำต้มใหม่ได้ 2-3 รอบ แต่รสอาจจืดจางลงไปบ้าง นำมาดื่มแทนน้ำช่วยเพิ่มความสดชื่น แถมช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย

วิธีทําน้ําตะไคร้หอม
          1. เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 15 กรัม / น้ำเปล่า 240 กรัม
          2. ล้างตะไคร้ให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ทุบให้แตก
          3. ใส่ลงหม้อต้มกับน้ำให้เดือด จนกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว
          4. รอสักครู่แล้วยกลง หลังจากนั้นกรองเอาตะไคร้ออกแล้วเติมน้ำเชื่อมให้ได้รสตามพอใจ

อ้างอิง
https://medthai.com/ตะไคร้/
http://xn--q3cp7eza.net/
มัลเบอรี่
7 ประโยชน์ของมัลเบอร์รี สุดยอดผลไม้ดีเพื่อสุขภาพ

ชื่อสมุนไพร        มัลเบอร์รี่ (Mulberry) หรือ หม่อน (ภาคอีสานเรียกว่า “มอน”) 
ชื่อสามัญ            Black Mulberry 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L. 
ชื่อวงศ์                MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เป็นไม้ทรงพุ่ม สูงประมาณ 2-5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-15 ซม. ด้านขอบใบมีรอยหยัก ใบมีลักษณะสาก ส่วนดอกมีสีขาวหม่นหรือแกมเขียว ออกเป็นช่อ ผลมีลักษณะเป็นผลรวม เมื่อสุกจะมีแดง สีม่วงแดง สุกมากจะมีสีดำ ตามลำดับ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
ประโยชน์ของมัลเบอรี่
         1.ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด  ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ แต่ผลไม้ดีอย่างมัลเบอร์รีนั้นก็มีคุณสมบัติช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดมีการผกผันได้ โดยจะชะลอการย่อยของคาร์โบไฮเดรต ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่เกิดการผกผันจนส่งผลกระทบกับร่างกายได้นั่นเอง
          2.ช่วยลดคอเลสเตอรอล  ไขมันภายในร่างกายอย่างคอเลสเตอรอลนั้นจำเป็นอย่างมากทีเดียวที่เราจะต้องคอยควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปกติ เพราะปล่อยให้ร่างกายมีปริมาณไขมันดังกล่าวมากเกินไปก็ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การทานมัลเบอร์รีจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ลงได้ ทั้งยังสามารถกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) เข้ามาแทนที่ได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นนะคะ มันยังช่วยลดไขมันที่พอกพูนอยู่ในตับให้น้อยลงได้อีกด้วย
          3.ป้องกันโรคมะเร็ง  เมื่อเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายถูกทำลายจนเสียหายมันก็จะแปรเปลี่ยนกลายมาเป็นเซลล์ที่มีภาวะผิดปกติ และนำมาสู่โอกาสของการเกิดเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด แต่การกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมัลเบอร์รีจะช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็งและกำจัดเซลล์มะเร็งไปพร้อมๆ กันได้ จึงนับเป็นสุดยอดอาหารต้านมะเร็งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง
          4. ป้องกันความดันโลหิตสูง เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารที่มีคุณสมบัติควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินไป และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้อีกด้วย โดยพบว่ามีสารชนิดนี้จากในเปลือกผลไม้บางชนิด เช่น องุ่นและผลไม้ตระกูลเบอร์รีบางชนิด ซึ่งผลมัลเบอร์รีก็นับเป็นแหล่งของสารเรสเวอราทรอลไม่น้อยทีเดียว
          5.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง   มัลเบอร์รีเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยสารอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารดังกล่าวมีประสิทธิภาพเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้นกันร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยมันจะเข้าไปทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์แมคโคเฟจ (macrophages) ซึ่งเป็นเซลล์ที่คอยทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและเชื้อไวรัสที่มักเข้ามาจู่โจมเล่นงานภายในร่างกาย จึงทำให้เรามีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงและลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายนั่นเอง
          6.ช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น  โดยปกติแล้ว ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่ไม่ค่อยมีในพืชเท่าใดนัก แต่สำหรับมัลเบอร์รีนั้นกลับเป็นผลไม้ที่เปี่ยมด้วยธาตุเหล็กอยู่อย่างน่าทึ่ง ซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้การไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น และยังทำให้ร่างกายสามารถส่งผ่านออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและเนื้อต่างๆ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้นด้วย
           7.ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก อาการท้องผูกมีสาเหตุการเกิดมาจากการที่ร่างกายขาดไฟเบอร์ แต่มัลเบอร์รีเป็นผลไม้ที่เปี่ยมด้วยปริมาณไฟเบอร์สูง แน่นอนว่ามันจะช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น จึงช่วยแก้อาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ ยังแก้อาการท้องอืดและจุกเสียดแน่นท้องได้อีกด้วย
          คุณค่าทางโภชชนาการของมัลเบอร์รี่ ต่อ 100 กรัม
          - พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่
          - คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
          - น้ำตาล 8.1 กรัม
          - ใยอาหาร 1.7 กรัม
          - ไขมัน 0.39 กรัม
          - โปรตีน 1.44 กรัม
          - เถ้า 0.69 กรัม
          - วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
          - เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
          - ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
          - วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
          - วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
          - วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
          - วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
          - วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
          - วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
          - วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
          -วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
          - โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
          - แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
          - ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
          - แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
          - ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
          - โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
          -โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
          - สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
          - ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
          - ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)























น้ำมัลเบอรรี่
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วิธีทำ
1. เตรียมน้ำเชื่อม โดยละลายน้ำตาลทรายในน้ำสะอาด นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด และยกลง
2. นำผลหม่อนมาล้าง และสะเด็ดน้ำ
3. ปั่นผลหม่อน น้ำแข็ง น้ำเชื่อม และเกลือ (ปลายช้อนชา) ด้วยเครื่องปั่น ประมาณ 1 นาที หรือจนเนื้อเนียนละเอียด
4. เทลงแก้ว พร้อมเสิร์ฟ ดื่มแบบเย็นๆ รสชาติหวานอมเปรี้ยว อร่อยชื่นใจ ได้ประโยชน์

อ้างอิง
https://www.sanook.com
https://medthai.com/มัลเบอรี่/
https://www.wongnai.com/recipes/ugc/6c51b22707f74004ba0329ebb05ee3e8