วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561


โครงการสวนสมุนไพร ๑๒ กลุ่มอาการ
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ลำพญากลาง
ปีงบประมาณ ๒๕๖๑

หลักการและเหตุผล
          สมุนไพร (Herb) และ สมุนไพรไทย (Thai Herb) คือ พืช ผัก และผลไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาและสิ่งบำรุงร่างกายมานานนับพันปี โดยที่สมุนไพรเหล่านี้มีทั้งแบบนำผล ใบ ราก เปลือก ยาง เนื้อไม้ เถา หัวและดอก หรือทั้งต้นมาใช้งาน ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรไทยเหล่านี้มีทั้งการนำมารับประทานสด การนำมาต้มรับประทานแบบยาแผนโบราณ บางชนิดก็ใช้ทาหรือพอกเพื่อรักษาโรค เป็นต้น  สมุนไพรไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานควบคู่สังคมไทยนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นส่วนประกอบอาหารคาว-หวาน เป็นยารักษาโรคใช้ในการดูแลสุขภาพและเป็นยาอายุวัฒนะ กระทั่งการเสริมความงาม ภูมิปัญญาเหล่านี้ได้รับการสั่งสม สืบทอด และพัฒนาต่อเนื่อง สร้างคุณค่าและมูลค่าให้แก่สมุนไพรไทยจนถึงปัจจุบัน ด้วยสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และการใช้พืชสมุนไพรไทย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนคนไทยมาโดยตลอด และพระราชกรณียกิจที่ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่นับตั้งแต่ต้นรัชกาลคือ พระราชกรณียกิจด้านแพทย์แผนไทย ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเมื่อครั้งเสด็จทรงปลูกต้นโพศรีมหาโพธิ์ ณ สวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน เมื่อวันที่ ๒๑กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ความว่า ต้นไม้เป็นสมุนไพรทั้งสิ้น การเพาะชำ การปลูก และดูแลรักษา กรมป่าไม้ทราบดีรีบไปดำเนินการแทนกรรมการโครงการฯ พื้นที่ที่จะปลูกสมุนไพรตัวอย่างที่เพาะชำสมุนไพร ที่สร้างหลักศิลาจารึก และที่สร้างอาคารสำหรับศึกษาวิจัย จัดนิทรรศการ จัดการศึกษา ฝึกสอนอบรมนั้นให้มีพร้อมด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ในการริเริ่มการพัฒนาสวนสมุนไพรในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ และจากพระราชกรณียกิจดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันพระบรมราชชนก และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดงาน แพทย์แผนไทย เทิดไท้เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรเมื่อวันศุกร์ที่    ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงาน ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก  ในงานนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในการเปิด สวนสมุนไพร ๑๒ กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคตา, โรคผิวหนัง, โรคระบบทางเดินอาหาร, โรคระบบทางเดินปัสสาวะ, โรคสตรีและหลังตั้งครรภ์, โรคไหลเวียนโลหิต, โรคพยาธิ, โรคประสาทและสมอง, โรคทางเพศสัมพันธ์, โรคกระดูกและข้อ, และโรคหู  โดยในสวนสมุนไพรนอกจากจะมีต้นไม้ มีป้ายชื่อพฤกษศาสตร์ พร้อมป้ายสรรพคุณที่ถูกต้องแล้ว ยังมีการเรียนรู้และการใช้สมุนไพรเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ต่อมากระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนงานต่างๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง จากแผนแม่บทดังกล่าวจังหวัดสระบุรีได้ตอบรับแผนแม่บทแห่งชาตินั้นโดยการนำมาพัฒนาให้จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองสมุนไพร (HERBAL CITY) โดยมีแนวทางให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
ของประชาชนในพื้นที่ ให้ประชาชนรู้จักสมุนไพร รู้จักการใช้สมุนไพรเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพก่อนไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และยังเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล รวมทั้งให้สมุนไพรไทยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน
        ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ลำพญากลางอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นเครือข่ายสุขภาพของสถาบันพระบรมชนกภายใต้การทำงานของกระทรวงสาธารณสุข สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ที่พระองค์ทั้งสองมีต่อประชาชนชาวไทย รวมทั้งเห็นความสำคัญของแผนแม่บทและนโยบายข้างต้นของกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัดสระบุรี  จึงได้จัดทำโครงการ “สวนสมุนไพร ๑๒ กลุ่มโรค ” นี้ขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรปลูกสมุนไพร พร้อมทั้งนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ทางด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในคลินิกแพทย์แผนไทยได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อประชาสัมพันธ์พืชสมุนไพรประชาชนทั่วไปในตำบลลำพญากลาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรสำหรับดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
๒. เพื่อให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีในการใช้สมุนไพร มีการปลูกและใช้สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพหรือเป็นอาหารในครัวเรือนซึ่งเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้เพื่อความยั่งยืน และสามารถใช้สมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้นก่อนพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
          ๓. มีสวนสาธิตสมุนไพร ๑๒ กลุ่มโรค ๒ แห่ง คือ ๑. ที่องค์การบริการส่วนตำบลลำพญากลาง ๒. ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ลำพญากลาง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ประชาชนที่สนใจ

งบประมาณ
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลลำพญากลางงานส่งเสริมสุขภาพ จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท  
กลวิธีดำเนินการ
๑.      สืบค้นข้อมูล คัดเลือกพืชสมุนไพร ๑๒ กลุ่มอาการ ได้แก่
๑. สมุนไพรกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ กระเทียม ดีปลี มะขามป้อม มะนาว มะแว้ง
ต้น มะแว้งเครือ ช้าพลู ปีบ ฟ้าทะลายโจร ส้มป่อย เป็นต้น
๒. สมุนไพรกลุ่มโรคตา ได้แก่ กระถินไทย เข็มแดง ชุมเห็ดไทย ตำลึง หม่อน ดาวเรือง มะรุม
มะลิซ้อน อัญชัน เป็นต้น
๓. สมุนไพรกลุ่มโรคผิวหนัง ได้แก่ ทองพันชั่ง พลู น้อยหน่า ว่านหางจระเข้ เสลดพังพอน
ตัวผู้ – เสลดพังพอนตัวเมีย  เหงือกปลาหมอ มะลิ ข่า รางจืด เทียนกิ่ง หนอนตายอยาก แก้ว เป็นต้น
๔. สมุนไพรกลุ่มโรคทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ตะไคร้  เตยหอม หญ้า
หนวดแมว โด่ไม่รู้ล้ม บัวบก แห้วหมู หญ้าพันงู เป็นต้น
๕. สมุนไพรกลุ่มอาการโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ กระชาย กะเพราะ ฝรั่ง ทับทิม มะกรูด
กล้วย มะละกอ ยอ คูณ ขี้เหล็ก ขมิ้นชัน ขิง เป็นต้น
๖. สมุนไพรกลุ่มโรคพยาธิ ได้แก่ ทับทิม น้อยหน่า มะเกลือ มะขาม มะหาด สะเดา
หนอนตายหยาก เล็บมือนาง เป็นต้น
๗. สมุนไพรกลุ่มอาการโรคทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ดองดึง โด่ไม่รู้ล้ม บานไม่รู้โรย ผักปลัง
สาเก อบเชย ขันทองพยายาท เป็นต้น
๘. สมุนไพรกลุ่มอาการโรคไหลเวียนโลหิต ได้แก่ กระดังงา แคนา จำปา เจตมูลเพลิงแดง
ฝาง ชบา เพกา คำไทย ดีปลี เป็นต้น
๙. สมุนไพรกลุ่มอาการโรคประสาทและสมอง ได้แก่ มะตูม บัวหลวง บัวบก บอระเพ็ด
 กรรณิกา กระชาย กะทกรก เป็นต้น
๑๐.สมุนไพรกลุ่มอาการโรคสตรีและการผดุงครรภ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูก ไพล หญ้าฮียุ่ม
ระย่อม รากสามสิบ ย่านางแดง เป็นต้น
๑๑.สมุนไพรกลุ่มอาการโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ พลับพลึง ไพล ขัดมอน
เถาวัลย์เปรียง กระดูกไก่ดำ ลำโพงกาสลัก เป็นต้น
๑๒.สมุนไพรกลุ่มอาการโรคหู ได้แก่ หญ้างวงช้าง มะรุม เข็มป่า ผักเสี้ยน มะรุม หูปลาช่อน
เอื้องหมายนา เป็นต้น
          ๒. ศึกษา ส่วนที่นำมาใช้ สารสำคัญ สรรพคุณ วิธีการใช้ ข้อควรระวัง
          ๓. ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกสมุนไพร
          ๔. รวบรวมพืชสมุนไพรที่จะนำมาใช้ และปลูกในสวนสมุนไพร
          ๕. สรุปและประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเตรียมการประชาสัมพันธ์พืชสมุนไพรให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ๑. ประชาชนทั่วไปในตำบลลำพญากลาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรสำหรับดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
๒. ประชาชนในตำบลลำพญากลาง มีทัศนคติที่ดีในการใช้สมุนไพร มีการปลูกและใช้สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพหรือเป็นอาหารในครัวเรือน และสามารถใช้สมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้นก่อนพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
          ๓. มีสวนสมุนไพร ๑๒ กลุ่มโรค สาธิต ๒ แห่ง คือ
๑. ที่องค์การบริการส่วนตำบลลำพญากลาง       
๒. ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ลำพญากลาง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้โดยตรง



ดองดึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloripsa superba L.
ชื่อวงศ์ COLCHICACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้เถาล้มลุก มีตำต้นเป็นหัวใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกสีเหลือ ปลายกลีบสีแดง
สรรพคุณ
     หัว แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ฟกซ้ำ บวม รักษากามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้าใช้ในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
     ราก แก้ลมจุกเสียด ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยารักษากามโรค ใช้หัวแห้งนำมาต้มเป็นยารับประทาน
     ยาแก้ปวกข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ใช้หัวสดตำพอก
ข้อควรระวัง 
      ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เองและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ โดยการใช้หัวดองดึงมาปรุงเป็นยานั้นจะต้องใช้ในปริมาณน้อย ๆ และเจือจางก่อนการนำมาใช้ หากใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
โทษของดองดึง 
     แม้สารโคลชิซีน (Colchicine) จะมีประโยชน์ แต่ก็ยังมีผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และยังเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก หรือประมาณ 3 มิลลิกรัม อาการเป็นพิษก็จะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะมีอาการแสบร้อนในปากและลำคอ ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ รู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก มีอาการเจ็บปวดตามตัว ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้ อาจจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ปากและผิวหนังชา กลืนไม่ลง มีอาการชัก อุจจาระร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่ง ถ่ายจนไม่มีอุจจาระ มีอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก และอาจส่งผลทำให้หมดสติได้ในที่สุด
     หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-20 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลงและเสียชีวิตในที่สุด ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ของสารโคลชิซีน หลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่มีอาการหนักสุด การขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้า ๆ พิษของสารชนิดนี้เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้งก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้สารนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นพิษต่อคนที่กินนมเข้าไปด้วย และนอกจากนี้สารโคลชิซีนก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค (Cholera), โรคไบรต์ดีซีส (Bright’s disease), โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus), อาการระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints), อาการปวดท้อง

 อ้างอิง
https://medthai.com


วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561



น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ "น้ำขิง"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขิง สรรพคุณ



ประโยชน์ของ "ขิง"
          1. ลดอาการท้องอืด หากคุณรู้สึกท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยให้จิบชาน้ำขิงหรือกินขิงสดจะทำให้คุณรู้ดีขึ้น หรือถ้าหากคุณเกิดอาการท้องอืดจากการกินถั่วละก็ คราวหน้าลองฝานถั่วบาง ๆ ลงไปในอาหารที่มีถั่ว นั่นก็จะช่วยลดอาหารท้องอืดได้ เพราะขิงนั้นเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สามารถช่วยขับลม และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ทำให้ อาการท้องอืดบรรเทาลงได้  
          2.ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานขิงตอนที่อาการไมเกรนใกล้กำเริบนั้น จะช่วยทำให้ความเจ็บปวดจากอาการไมเกรนลดลงได้ เพราะขิงจะไปช่วยสกัดการฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่น แสดงให้เห็นอีกว่าขิงสามารถช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ โดยพบว่าผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรครูมาตอยด์มีอาการลดลงเมื่อบริโภคขิงผงเป็นประจำทุกวัน
         3. ช่วยป้องกันมะเร็ง  ขิงมีคุณสมบัติในการช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยมีการศึกษาพบว่าขิงช่วยทำให้เซลล์มะเร็งภายในรังไข่ตาย เพราะในขิงมีสารเคมีธรรมชาติที่ไปช่วยกระตุ้นเอนไซม์กลูตาไธโน-เอส-ทรานสเฟอรเรส ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีขิงเป็นส่วนประกอบยังช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
          4. ช่าวยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ขิงสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ โดยชาวเอเชียนั้นมักจะใช้ขิงในการช่วยบรรเทาอาการเมารถ หรือเมาเรือ นอกจากนี้ยังมีหลายการศึกษาพบว่าขิงสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอาเจียนหลังจากการผ่าตัดและยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับเคมีบำบัดได้อีกด้วย
          5. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาใหม่พบว่า ขิงผงนั้นสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขิงร่วมกับยา เพราะขิงอาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาได้ และควรติดตามผลระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด เพราะหากรับประทานขิงมากเกินไปก็อาจจะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเกินไปจนอยู่ในขีดอันตรายได้

ข้อควรระวังในการทานขิง
       1. อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้  มีบางการศึกษาพบว่าขิงมีความเชื่อมโยงกับภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์และการแท้ง แต่ในการตั้งครรภ์รายอื่น ๆ นั้นไม่พบว่าการรับประทานขิงจะทำให้เกิดอาการเหล่านั้นขึ้น แถมยังช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการแพ้ท้องได้อีกด้วย ดังนั้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนจะที่ใช้ขิงในการรักษาอาการแพ้ท้องด้วยตนเองค่ะ
       2. ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ ขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ถ้าหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะสามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนเป็นอาการร้อนในได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานขิงมากจนเกินไปค่ะ
         3. ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด การศึกษาหนึ่งในออสเตรเลียพบว่า ขิงนั้นมีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่ายาแอสไพริน สถาบันสุขภาพของออสเตรเลียได้ออกคำเตือนให้งดการรับประทานขิงในขณะที่ใช้ยาละ]ายลิ่มเลือดเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอาการห้อเลือดหรืออาการเลือดออกได้ ดังนั้นถ้าหากคุณมีอาการเลือดออกผิดปกติหรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
ข้อมูล : https://health.kapook.com/view95236.html

ส่วนผสม
           1.ขิงสด 15 กรัม (ขนาด 1″x1.5″ 5 ชิ้น )
           2.น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว )
           3.น้ำเปล่า 240 กรัม ( 16 ช้อนคาว )

วิธีทำ

            นำขิงมาปอกเปลือกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นใส่หม้อใส่น้ำ ตั้งไฟต้ม จนเดือดสักครู่ยกลง กรองเอาขิงออก ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ หรืออีกวิธีหนึ่ง ใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว ใช้กวาดคอ หรือใช้เหง้าขิงสด ตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและใส่เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆ
ข้อมูล : http://tonpalmkanokan-healthy.blogspot.com/2012/05/blog-post_5814.html

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561


น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ "น้ำฝาง"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ําฝาง วิธีทำ
สรรพคุณของฝาง
       1. เนื้อไม้และแก่นเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้, แก่น)
       2. เมล็ดแก่แห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้ (เมล็ด)
     3. เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรคได้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
    4.  ตำรับยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี แก้ประดง ระบุให้ใช้แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกิน (แก่น)
     5.  ตำรับยาบำรุงกำลังระบุให้ใช้แก่นตากแห้งผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ตานเหลือง ข้าวหลามดง โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ม้ากระทืบโรง มะตันขอ ไม้มะดูก หัวข้าวเย็น และลำต้นฮ่อสะพายควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (แก่น) หรืออีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง กำลังช้างสาร ม้ากระทืบโรง และรากกระจ้อนเน่าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง 1 บาท, ดอกคำไทย 2 สลึงนำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เอา 1 แก้ว ใช้แบ่งกินเช้า, เย็นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย และแก้กษัย (แก่น)
       6.ตำรับยาแก้กษัยระบุให้ใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตยอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)
     7.แก่นฝางมีรสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี (แก่น)
     8.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน กระจายเลือดที่อุดตัน แก้อาการหัวใจขาดเลือด ทำให้จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก (แก่น)
      9.ช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น (แก่น)
     10.แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน (แก่น) ตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน ระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม, และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลวแล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้กินครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น) บ้างว่าใช้แก้ไข้สัมประชวรได้ด้วย (แก่น)
     11. ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูระบุให้ใช้ฝางเสน เกสรบัวหลวง แก่นสน รากลำเจียก รากมะพร้าว รากมะนาว รากเท้ายายม่อม รากย่านาง ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี จันทน์ขาว จันทน์แดง สักขี อย่างละ 1 บาท นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อน ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา โดยให้จิบบ่อย ๆ จนกว่าไข้จะสงบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
      12. น้ำต้มแก่นฝางช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี (แก่น)เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ร้อนใน (เนื้อไม้)
     13.แก่นและเนื้อไม้มีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ (เนื้อไม้, แก่น)
     14.ช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (แก่น)ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3 บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อยแล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้ (แก่น)[16] ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไอ ไอแบบเป็นหวัดและเจ็บคอ ไอแบบคอแห้ง หรือไอแบบหอบหืด และผู้ที่ไอจากวัณโรคก็บรรเทาได้เช่นกัน รวมไปถึงอาหารปอดหรือหลอดลมอักเสบก็จิบยาแก้ไอขนานนี้ได้ โดยตำรับยาแก้ไอฝาง ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ฝาง 200 กรัม, พริกไทยร่อน 200 กรัม, กานพลู 50 กรัม, สารส้ม 50 กรัม, การบูร 25 กรัม, เมนทอล 25 กรัม, เปลือกหอยแครงแล้วทำเป็นปูนขาว 15 กรัม, ดีน้ำตาลหรือใช้น้ำตาล 2.5 กรัม และน้ำสะอาด 5 ลิตร ส่วนวิธีการปรุงยาให้นำเนื้อไม้ฝางมาสับเป็นซี่เล็ก ๆ คล้ายไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 15-30 นาที และสำหรับส่วนผสมอื่น ๆ ให้นำมาตำให้ละเอียด เก็บใส่ไว้ในโหลก่อน จากนั้นนำน้ำยาต้มฝางที่รอจนอุ่นแล้วมาทาใส่ลงในโหลที่มีตัวยาอื่น ๆ ผสมอยู่ และให้แช่ยานี้ไว้ประมาณ 2-3 วัน (คนยาวันละ 3 ครั้ง) เมื่อครบวันแล้วให้กรองเอาเฉพาะน้ำยามาเก็บไว้ใส่ขวดที่สะอาด เก็บไว้จิบกินตอนมีอาการไอ (ยาแก้ไอฝางสูตรนี้ไม่ควรกินต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนศีรษะและมีความดันต่ำได้ ดังนั้นเมื่อกินจนอาการไอหายแล้วก็ให้หยุดกิน) (เนื้อไม้ช่วยแก้โรคหืดหอบได้ด้วย (แก่น) ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางเสน, แก่นแสมสาร, เถาวัลย์เปรียง, ใบมะคำไก่ อย่างละ 2 บาท 2 สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือด 10 นาที นำมากินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น พอวันต่อมาให้เติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด 5 นาทีแล้วกินเหมือนวันแรก ต้มกินจนยาจืดประมาณ 5 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนยาใหม่ โดยให้ต้มกินไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาย (แก่น)[16]ช่วยแก้ปอดพิการ (แก่น)[
      15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ฝาดสมานโรคท้องร่วง ตำรายาไทยระบุให้ใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 500 มิลลิเมตร แล้วเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้ฝาง 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน นำไปต้มเคี่ยว 15 นาที ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะหรือ 4-8 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เนื้อไม้, แก่น) ส่วนน้ำมันหอมระเหยมีสรรพคุณเป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้อาการท้องเดิน (น้ำมันระเหย)
     16. ช่วยแก้บิด (แก่น)
     17.ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (แก่น)
แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับแก่นต้นคูน รากมะเดือยหิน หญ้าถอดปล้อง และใบสับปะรด (แก่น)
     18.ช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น ด้วยการใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตย อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)
      19.ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก (เนื้อไม้, แก่น)
ฝางนิยมใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี เนื่องจากช่วยทำให้เลือดดี เช่น ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ด้วยการใช้ฝางเสนหนัก 4 บาทและแก่นขี้เหล็ก 2 บาท นำมาต้มกินก่อนประจำเดือนจำมา จะช่วยทำให้ประจำเดือนไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ ช่วยแก้พิษโลหิตร้าย เป็นยาขับประจำเดือน และบำรุงโลหิต (แก่น)
      20.แก่นใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ช่วยขับระดู
      21.ส่วนเนื้อไม้เป็นยาขับระดูอย่างแรง (เนื้อไม้)
      22.ตำรายาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนปิดกั้นไม่มา ให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้ดื่มครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น) ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้แก่น 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรก (ไม่รวมเมล็ด) ประมาณ 4-6 ฝัก แล้วนำไปเคี่ยวจนเหลือ 1 แก้ว ใช้กินเช้าและเย็น (แก่น)[8] และอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเปลือกลำต้นและเนื้อไม้ เป็นยาแก้ท้องเสียและแก้อาการอักเสบในลำไส้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
     23.ช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร (แก่น)
     24.ช่วยคุมกำเนิด (แก่น)
     25.ช่วยแก้ดีและโลหิต (เนื้อไม้)
     26.ช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ (แก่น)
      27.ช่วยแก้คุดทะราด (แก่น)
      28.ช่วยรักษามะเร็งเพลิง (แก่น)
      29.ใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
      30.แก่นฝางนำมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้ (แก่น)
      31.ช่วยแก้น้ำกัดเท้า ด้วยการใช้แก่นฝาง 2 ชิ้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า จะช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผลได้ (แก่น)
      32.แก่นใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน (แก่น)ตำรายาแก้ฟกช้ำ ระบุให้ใช้แก่นฝาง 60 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้า แบ่งกิน 3 ครั้ง ใช้กินตอนท้องว่าง (แก่น)
       33.ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (แก่น)[1] ตามตำรายาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้รับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)
       34.กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (กิ่ง)
      35.เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)
      36.เนื้อไม้ใช้ผสมกับปูนขาว นำมาบดใช้ทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะ และช่วยลดอาการเจ็บปวด (เนื้อไม้)
      37.ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำรับยาที่ใช้แก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ โดยประกอบไปด้วยเครื่องยา 2 สิ่ง คือ ฝางเสนและเปลือกมะขามป้อมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำ 4 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียอย่างแรงและเป็นยาแก้บิด (แก่น)
      38.นอกจากนี้ยังใช้ฝางในการรักษาโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคประดง โรคไต ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ และฝางยังเป็นสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรับยาโบราณมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น ยาหอมอินทจักร ยาจันทลีลา อยู่ในตำรับยาบำรุงโลหิตต่าง ๆ รวมไปถึงตำรับยาบำรุงโลหิตของสตรีจะขาดฝางเสียไม่ได้

วิธีทำน้ำฝาง  
ส่วนผสม
     1. น้ำ 2 ถ้วยตวง
     2.ฝาง 2 ชิ้น
     3.น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
     4.น้ำผึ้ง 5 ช้อนโต๊ะ
     5.น้ำแข็ง 5 ถ้วยตวง
วิธีทำ
      1. ต้มฝางกับน้ำจนเดือด สีของน้ำต้มจะเป็นสีชมพู ยกลงจากเตา ใส่น้ำผึ้ง น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน
      2. วิธีเสิร์ฟ ตักน้ำแข็งใส่แก้ว รินน้ำฝางใส่ ตกแต่งให้สวยงาม เสิร์ฟได้ทันที


น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ "น้ำอัญชัน"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อัญชัน
ชื่อสมุนไพร          อัญชัน


    ชื่อวิทยาศาสตร์   Clitoria ternatea L.
    ชื่อวงศ์                   FABACEAE
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
         ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้วหรือซุ้ม เถากลมเล็กเรียว สีเขียวอ่อน เถาอ่อน กิ่งอ่อน หูใบ ก้านใบ แกนใบประกอบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง มีขนนุ่ม แตกกิ่งก้านตามข้อใบ เถายาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 2-3 คู่ ใบบาง สีเขียว แต่ละใบมี ใบย่อย 5-9 ใบ ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 3-7 เซนติเมตร รวมก้านที่ยาว 1-3 เซนติเมตร ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน หรือบางครั้งผิวด้านบนเกลี้ยง ขอบใบเรียบ โคนใบสอบ ปลายใบมน ปลายเป็นติ่งแหลมสั้นๆ แผ่นใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-5 เส้น หูใบรูปใบหอก ขนาดเล็ก ปลายแหลมยาว ยาว 2-5 มิลลิเมตร ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มี 1-2 ดอก กลีบดอก รูปดอกถั่ว มี 5 กลีบ แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่างขนาดใหญ่ ขอบมน กลีบดอกย่นบาง ตรงกลางดอกมีแถบสีเหลืองขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ โคนติดกัน ยาว 1.5-2 เซนติเมตร แผ่นกลีบบาง ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า ปลายแฉกแหลมยาว ดอกมีสีสีน้ำเงิน ม่วง หรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว รูปดอกถั่ว แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีกลีบใหญ่ที่สุด 1 กลีบ ซึ่งจะมีจุดแต้มสีเหลืองกลางกลีบ ชนิดนี้เรียกว่าพันธุ์ดอกลา บางครั้งกลีบดอก 5 กลีบมีกลีบใหญ่มากกว่า 1 กลีบ ทำให้ดูเหมือนมีกลีบดอกหลายชั้น เรียกว่าพันธุ์ดอกซ้อน กลีบกลางรูปรีกว้างเกือบกลม ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ก้านกลีบสั้นๆ ในดอกสีน้ำเงินหรือชมพูมีปื้นสีขาวช่วงกลางกลีบด้านโคน กลีบปีกและกลีบคู่ล่าง ขนาดเล็กกว่ากลีบกลางประมาณ กึ่งหนึ่ง มีก้านกลีบเรียวยาวเท่าแผ่นกลีบ กลีบข้างรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างรูปรี เกสรเพศผู้ติดสองกลุ่ม 9 อัน ติดกันประมาณ 2 ใน 3 ส่วน เกลี้ยง ยาวเท่ากลีบปีกและกลีบคู่ล่าง รังไข่รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว มีขนยาวหนาแน่นช่วงปลายด้านใน ก้านช่อยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับขนาดเล็กออกเป็นคู่ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับย่อยมีขนาดใหญ่กว่าใบประดับ มี 1 คู่ รูปไข่กว้างเกือบกลม ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเส้นใบชัดเจน ก้านดอกสั้นๆ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ผลเป็นฝัก รูปดาบ แบนยาว ขนาดกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่มีสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต สีดำ ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร จำนวน 6-10 เมล็ด พบตามแนวชายป่า ป่าละเมาะ ที่ทิ้งร้าง ชอบที่แห้ง ใช้ดอกแต่งสีอาหาร และขนมหลายชนิดสีน้ำเงินจากดอกเป็นสีที่ละลายน้ำได้

ประโยชน์ของดอกอัญชัน      - ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังทำให้ร่างกายมีแรงขึ้น
     - สารต้านอนุมูลอิสระในดอกอัญชันช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
     - ช่วยบำรุงสมอง
     - ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
     - ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
     - ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
     - ช่วยล้างสารพิษและขับของเสียออกจากร่างกาย
     - แก้อาการปัสสาวะพิการ
     - แก้อาการฟกช้ำ
     - ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำอัญชัน
การทำน้ำดอกอัญชัน
     ส่วนผสม
      - ดอกอัญชัน 100 กรัม
      - น้ำสะอาด 2 ถ้วย
      - น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
      - น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ

   วิธีทำ
      - นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด แล้วไปต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม
     - นำน้ำดอกอัญชันที่ได้ผสมน้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ และเมื่อทำเสร็จควรรีบดื่มให้หมดเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีคุณค่า
     ข้อควรระวัง
     แม้ว่าดอกอัญชันจะเป็นสมุนไพร แต่ก็ยังมีโทษถ้าหากใช้มากเกินไป โดยอย่าดื่มน้ำอัญชันที่มีสีเข้มมากเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นในการขับสารสีจากอัญชันออกมา และผู้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรจะรับประทานดอกอัญชันรวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของอัญชันด้วย เพราะในดอกอัญชันนั้นมีสารที่มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจางได้

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki
http://www.phargarden.com

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561


สมุนไพรฆ่าเหาสูตรออแกนิก

 ส่วนประกอบและวิธีทำ
         ๑. ใบน้อยหน่า ๑๐ กำมือ
          ๒. ใบสะเดา ๑๐ กำมือ
          ๓. น้ำสะอาด ๓,๐๐๐ ซีซี

 ใบน้อยหน่า ๑๐ กำมือ

 ใบสะเดา ๑๐ กำมือ

ตำให้ละเอียด



ผสมน้ำ ๓,๐๐๐ซีซี หมักไว้ ๑ คืน

        ๔. กรองเอากากออกจนหมด
        ๕. บรรจุขวดสเปย์ชนิดปรับหัวฉีดละเอียด
        ๖. นำส่วนที่เหลือแช่ตู้เย็นไว้ เก็บได้ ๓๐ วัน

การนำไปใช้
       นำสมุนไพรใส่ขวดสเปย์ ฉีดใส่ผมของคนที่เป็นเหาให้ชุ่ม คลุมผมไว้ ๓๐ นาที ล้างออกและสะผมตามปกติ ทำติดตาอกัน ๓ วัน เหาจะหายไป แต่ต้องรักษาความสะอาดสม่ำเสมอ ป้องกันการกลัมาเป็นอีก
ข้อควรระวัง
          น้ำคั้นจากใบน้อยหน่า ต้องระวังอย่าให้ถูกบริเวณตาหรือเปลือกตา บริเวณรูจมูก ริมฝีปาก เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้ ต้องให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที
         ถ้ามีอาการระคายเคืองไม่ควรใช้


วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561



น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ "น้ำมะตูม"


“มะตูม” ผลไม้สรรพคุณดี ดูแลสุขภาพ

มะตูมมีข้อดีคือเป็นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน เพียงนำมะตูมมาหั่นบางๆ และผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารแบบตากแห้งหรืออบ ก็จะสามารถเก็บไว้ได้นานมาก นำไปต้มน้ำจะได้น้ำมะตูมหอมสดชื่น ซึ่งนอกจากจะได้เครื่องดื่มสมุนไพรรสหอมหวานแล้ว ยังได้ประโยชน์จากสารเพกตินที่มีใยอาหาร และมีสารแทนนินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยขับของเสียในร่างกาย ความหวานจากมะตูมจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกทั้งยังช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยดับร้อนได้เป็นอย่างดี ว่ากันว่าน้ำมะตูมเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับสตรีมีครรภ์เพราะจะทำให้คลอดลูกง่าย มดลูกเข้าอู่เร็ว นอกจากในส่วนของเนื้อมะตูมที่นำมาทำเป็นน้ำมะตูมดื่มให้สดชื่นแล้ว ใบของมันยังเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องเสียได้ด้วย

           สรรพคุณของเครื่องดื่มสมุนไพรไทย น้ำมะตูม เครื่องดื่มสุขภาพ แก้อาการท้องเสีย ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ร้อนใน และทำให้เจริญอาหาร
ส่วนผสมการทำน้ำมะตูม
     มะตูมอบแห้ง 6 ชิ้น
     น้ำ 7 ถ้วย
     น้ำตาลทรายแดง 3/4 ถ้วย
     น้ำแข็ง ชนิดก้อน
 
ขั้นตอนการทำน้ำสมุนไพรไทย มะตูม
      1. ปิ้งมะตูมพอมีกลิ่นหอม ใส่จานพักเตรียมไว้
     2. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลาง จนน้ำเดิอด
     3. ใส่มะตูมที่ปิ้งเตรียมไว้แล้ว ลงในหม้อ ต้มนานประมาณ 5-8 นาที
     4. พอเริ่มมีกลิ่นหอมของมะตูม และน้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้ว
     5. ให้เติมน้ำตาลทรายแดง คนจนละลาย แล้วปิดไฟ
     6. กรองด้วยกระชอน เทใส่เหยือก
     7. รินใส่แก้วน้ำแข็ง ตกแต่งด้วยมะตูมอบแห้ง พร้อมเสริ์ฟ







การใช้ยาปฏิชีวนะแบบสมเหตุผล

"3 โรครักษาได้โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ"









“แผ่นประคบสมุนไพร เหมือนมีแพทย์แผนไทยอยู่ใกล้คุณ”
กรอบแนวคิด
          การบริการด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งการนวดไทย การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร ยังเป็นบริการที่มีความต้องการของประชาชน แต่ด้วยปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต เช่น อาชีพ ความเป็นอยู่ที่เร่งรีบ ทำให้การเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์แผนไทยเป็นไปได้ยาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการมีเพียง ๑ คน ทำให้การบริการล่าช้าในส่วนการประคบสมุนไพร
          จึงได้ทำนวัตกรรมนี้ขึ้นเพื่อลดเวลาในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในส่วนของการประคบสมุนไพรและเป็นการให้ครอบครัวสามารถดูแลกันเองเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

ตัวยาที่ใช้ทำแผ่นประคบสมุนไพร
          ๑. เหง้าไพล สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ
          ๒. ขมิ้นชัน สรรพคุณ ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
          ๓. ผิวมะกรู ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ สรรพคุณ มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
          ๔. ตะไคร้ แต่งกลิ่น
          ๕. ใบมะขาม สรรพคุณ แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
          ๖. ใบส้มป่อย สรรพคุณ ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต
          ๗. เกลือแกง สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
          ๘. การบู สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้พุพอง
          ๙. พิมเสน สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ  แก้หวัด

วิธีทำแผนประคบสมุนไพร
๑. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด เป็นชิ้นเล็กๆ ตากสมุนไพรทุกตัวที่แดดจัดๆ ให้แห้ง นำมาตำพอละเอียด
๒. นำใบมะขามใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรข้อ ๑ เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
๓. นำตัวยาที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ใส่ในผ้าดิบที่เย็บไว้













วิธีการใช้แผ่นประคบสมุนไพร
. นำแผ่นประคบสมุนไพรที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่งใช้เวลานึ่งประมาณ ๑๕ – ๒๐ นาที ปิดหม้อนึ่งสักครู่
. นำแผ่นประคบสมุนไพรที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาพันผ้าขนหนูเพื่อไม่ให้ร้อนเกินไป

๓. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคง นอนคว่ำ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการวางแผ่นประคบสมุนไพร
          ๔. นำแผ่นประคบที่ห่อด้วยผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณที่ต้องการประคบ(ควรสอบถามคนไข้ก่อนว่าร้อนเกินไปหรือไม่ ควรระวังในบริเวณกล้ามเนื้ออ่อน เช่น ท้องแขน หน้าท้อง และควรระมัดระวังในผู้ป่วยเบาหวาน)
การใช้แผ่นประคบสมุนไพร
นำแผ่นประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนแล้ว วางบนผ้าเพื่อลดความร้อน

ก่อนวางบริเวณที่ต้องการ วางผ้าอีกหนึ่งผืน

วางบริเวณที่ต้องการ ถามผู้ป่วยบ่อยๆ ว่าร้อนไหม
ประโยชน์ของการใช้แผ่นประคบ
          ๑. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
          ๒. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลัง ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมง
          ๓. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
          ๔. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
          ๕. ลดการติดขัดของข้อต่อ
          ๖. ลดอาการปวด
          ๗. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ข้อควรระวัง
          ๑. ห้ามใช้แผ่นประคบสมุนไพรที่ร้อนเกินไปโดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรใช้ผ้าขนหนูรองหลายชั้นก่อนหรือรอจนกว่าแผ่นประคบสมุนไพรจะคลายร้อนลงจากเดิม
          ๒. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึก ตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะ ใช้แผ่นประคบสมุนไพรที่อุ่นๆ
          ๓. ไม่ควรใช้แผ่นประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล การอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง ๒๔ ชั่วโมง แรกอาจจะทำให้บวมมากขึ้น
          ๔. หลังจากประคบด้วยแผ่นสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้

วิธีเก็บรักษาแผ่นประคบสมุนไพร
          ๑. แผ่นประคบสมุนไพรที่ทำในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ ๓-๕ วัน
          ๒. ควรเก็บแผ่นประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น ควรตรวจแผ่นประคบสมุนไพรด้วย (ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้)
          ๓. ถ้าเป็นแผ่นประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว
          ๔. ถ้าแผ่นประคบสมุนไพรที่ใช้มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว (คุณภาพน้อยลง) จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนแผ่นประคบสมุนไพรใหม่


นึ่งให้ร้อน

ห่อด้วยผ้าเพื่อลดความร้อน

วางบริเวณที่ต้องการ

วางบริเวณที่ต้องการ