“แผ่นประคบสมุนไพร
เหมือนมีแพทย์แผนไทยอยู่ใกล้คุณ”
การบริการด้านการแพทย์แผนไทย
ทั้งการนวดไทย การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร ยังเป็นบริการที่มีความต้องการของประชาชน
แต่ด้วยปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต เช่น อาชีพ ความเป็นอยู่ที่เร่งรีบ
ทำให้การเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์แผนไทยเป็นไปได้ยาก
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการมีเพียง ๑ คน
ทำให้การบริการล่าช้าในส่วนการประคบสมุนไพร
จึงได้ทำนวัตกรรมนี้ขึ้นเพื่อลดเวลาในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในส่วนของการประคบสมุนไพรและเป็นการให้ครอบครัวสามารถดูแลกันเองเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
ตัวยาที่ใช้ทำแผ่นประคบสมุนไพร
๑. เหง้าไพล สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ
๒. ขมิ้นชัน
สรรพคุณ ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
๓. ผิวมะกรูด ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ สรรพคุณ
มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
๔. ตะไคร้ แต่งกลิ่น
๕. ใบมะขาม สรรพคุณ แก้อาการคันตามร่างกาย
ช่วยบำรุงผิว
๖. ใบส้มป่อย สรรพคุณ ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง
ลดความดันโลหิต
๗. เกลือแกง สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
๘. การบูร สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
แก้พุพอง
๙. พิมเสน สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้หวัด
วิธีทำแผนประคบสมุนไพร
๑. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด เป็นชิ้นเล็กๆ ตากสมุนไพรทุกตัวที่แดดจัดๆ ให้แห้ง นำมาตำพอละเอียด
๒. นำใบมะขามใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรข้อ ๑ เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
๓. นำตัวยาที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ใส่ในผ้าดิบที่เย็บไว้
๑. นำแผ่นประคบสมุนไพรที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่งใช้เวลานึ่งประมาณ
๑๕ – ๒๐ นาที ปิดหม้อนึ่งสักครู่
๒. นำแผ่นประคบสมุนไพรที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาพันผ้าขนหนูเพื่อไม่ให้ร้อนเกินไป
๓.
จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคง นอนคว่ำ
ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการวางแผ่นประคบสมุนไพร
๔.
นำแผ่นประคบที่ห่อด้วยผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณที่ต้องการประคบ(ควรสอบถามคนไข้ก่อนว่าร้อนเกินไปหรือไม่
ควรระวังในบริเวณกล้ามเนื้ออ่อน เช่น ท้องแขน หน้าท้อง
และควรระมัดระวังในผู้ป่วยเบาหวาน)
การใช้แผ่นประคบสมุนไพร
นำแผ่นประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนแล้ว วางบนผ้าเพื่อลดความร้อน
|
วางบริเวณที่ต้องการ ถามผู้ป่วยบ่อยๆ ว่าร้อนไหม |
ประโยชน์ของการใช้แผ่นประคบ
๑.
บรรเทาอาการปวดเมื่อย
๒.
ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลัง ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมง
๓.
ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
๔. ช่วยให้เนื้อเยื่อ
พังผืด ยืดตัวออก
๕.
ลดการติดขัดของข้อต่อ
๖.
ลดอาการปวด
๗.
ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ข้อควรระวัง
๑.
ห้ามใช้แผ่นประคบสมุนไพรที่ร้อนเกินไปโดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ
หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรใช้ผ้าขนหนูรองหลายชั้นก่อนหรือรอจนกว่าแผ่นประคบสมุนไพรจะคลายร้อนลงจากเดิม
๒. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต
เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึก ตอบสนองต่อความร้อนช้า
อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะ ใช้แผ่นประคบสมุนไพรที่อุ่นๆ
๓. ไม่ควรใช้แผ่นประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล การอักเสบ (ปวด
บวม แดง ร้อน) ในช่วง ๒๔ ชั่วโมง แรกอาจจะทำให้บวมมากขึ้น
๔. หลังจากประคบด้วยแผ่นสมุนไพรแล้ว
ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง
และอุณหภูมิร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้
วิธีเก็บรักษาแผ่นประคบสมุนไพร
๑. แผ่นประคบสมุนไพรที่ทำในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้
๓-๕ วัน
๒. ควรเก็บแผ่นประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น
ควรตรวจแผ่นประคบสมุนไพรด้วย (ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้)
๓. ถ้าเป็นแผ่นประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว
๔.
ถ้าแผ่นประคบสมุนไพรที่ใช้มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว
(คุณภาพน้อยลง) จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนแผ่นประคบสมุนไพรใหม่
นึ่งให้ร้อน |
ห่อด้วยผ้าเพื่อลดความร้อน |
วางบริเวณที่ต้องการ |
วางบริเวณที่ต้องการ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น