ดองดึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloripsa superba L.
ชื่อวงศ์ COLCHICACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาล้มลุก มีตำต้นเป็นหัวใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกสีเหลือ ปลายกลีบสีแดง
สรรพคุณ
หัว แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ฟกซ้ำ บวม รักษากามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้าใช้ในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ราก แก้ลมจุกเสียด ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ
ตำรับยา/วิธีใช้
ยารักษากามโรค ใช้หัวแห้งนำมาต้มเป็นยารับประทาน
ยาแก้ปวกข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ใช้หัวสดตำพอก
ข้อควรระวัง
ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เองและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ โดยการใช้หัวดองดึงมาปรุงเป็นยานั้นจะต้องใช้ในปริมาณน้อย ๆ และเจือจางก่อนการนำมาใช้ หากใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
โทษของดองดึง
โทษของดองดึง
แม้สารโคลชิซีน (Colchicine) จะมีประโยชน์ แต่ก็ยังมีผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และยังเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก หรือประมาณ 3 มิลลิกรัม อาการเป็นพิษก็จะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะมีอาการแสบร้อนในปากและลำคอ ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ รู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก มีอาการเจ็บปวดตามตัว ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้ อาจจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ปากและผิวหนังชา กลืนไม่ลง มีอาการชัก อุจจาระร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่ง ถ่ายจนไม่มีอุจจาระ มีอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก และอาจส่งผลทำให้หมดสติได้ในที่สุด
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-20 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลงและเสียชีวิตในที่สุด ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ของสารโคลชิซีน หลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่มีอาการหนักสุด การขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้า ๆ พิษของสารชนิดนี้เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้งก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้สารนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นพิษต่อคนที่กินนมเข้าไปด้วย และนอกจากนี้สารโคลชิซีนก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค (Cholera), โรคไบรต์ดีซีส (Bright’s disease), โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus), อาการระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints), อาการปวดท้อง
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-20 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลงและเสียชีวิตในที่สุด ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ของสารโคลชิซีน หลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่มีอาการหนักสุด การขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้า ๆ พิษของสารชนิดนี้เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้งก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้สารนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นพิษต่อคนที่กินนมเข้าไปด้วย และนอกจากนี้สารโคลชิซีนก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค (Cholera), โรคไบรต์ดีซีส (Bright’s disease), โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus), อาการระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints), อาการปวดท้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น