วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ขัดมอนใบเรียว
 
ชื่อวิทยาศาสตร์  Sida acuta Burm.f. 
ชื่อวงศ์  MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
     ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงเวียน ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลืองสด ออกที่ง่ามใบ
สรรพคุณ
     ราก  บำรุงกระดูก แก้ปวดเมื่อย ปวดแข้งปวดขา แก้ช้ำบวมอักเสบ แก้ปวดฟัน รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคปอด แก้ปวดมดลูก แก้คลื่นเหียนอาเจียน ลำต้นหรือใบเป็นยาบ้วนปาก 
     ลำต้นอ่อนและใบ แก้บิด
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาบำรุงกระดูก แก้ปวดแข้งปวดขา รากหญ้าขัดใบมน รากหญ้าขัดฝอย รากขัดมอน ลำไม้มะดูก ต้มกิน


อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

ชะอม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Acacia pennata (L.) Will.subsp.insuavis
                             Nielsen
ชื่อวงศ์   LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     เป็นไม้ยืนต้นมีอายุนานหลายปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย ทำให้มีทรงพุ่มโปร่ง กิ่งมีขนาดเล็ก แต่ยาวได้หลายเมตร ลำต้น และกิ่งมีหนามแหลม เปลือกลำต้น และกิ่งค่อนข้างบาง เปลือกผิวเรียบ ไม่แตกสะเก็ด ผิวเปลือกมีสีเทาอมเขียว
      ใบประกอบ มีก้านใบหลัก ยาว 15-20 ซม. ก้านใบหลักแตกเป็นก้านใบย่อยเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 8-12 ก้าน แต่ละก้านใบย่อยประกอบด้วยใบขนาดเล็กจำนวนมาก ใบจะอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ 15-28 คู่ ใบมีลักษณะรูปไข่ ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ใบบริเวณยอดอ่อนหุบพับเข้าประกบกัน ต่อมาค่อยแผ่กางออก ยอดอ่อนมีกลิ่นฉุนแรง
     ดอกเป็นช่อ แทงออกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว มีเกสรตัวผู้เป็นเส้นเล็กๆภายในดอก
สรรพคุณ/วิธีใช้
     ใบชะอม  ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ
     เปลือกชะอม  เปลือกชะอมบดผสมกับฟ้าทะลายโจร และสะเดา ใช้รับประทาน สำหรับช่วยขับพยาธิ
เปลือกหรือลำต้นชะอมต้มน้ำกิน ช่วยเป็นยาขับลม ช่วยขับปัสสาวะ น้ำต้มจากเปลือกหรือลำต้นชะอมช่วยแก้อาหารท้องเสีย และลดอาการอาหารเป็นพิษ
     ราก  ใช้ต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับพยาธิ น้ำต้มจากรากชะอมช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร หรือนำรากมาฝนเป็นผง ใช้ทาประคบแผล ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ ทำให้แผลแห้งหายได้เร็วขึ้น
     บำรุงสายตาและต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
ข้อควรระวัง
     ชะอมมีกลิ่นฉุนแรง การรับประทานชะอมสดมักทำให้เกิดกลิ่นปากแรง
     สตรีหลังคลอดบุตรหรืออยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะอม เนื่องจาก ยอดชะอมมักทำให้เกิดอาการแพ้ท้องหรือเกิดอาการแสลงของสตรีที่ให้นมบุตร ซึ่งทั่วไปมักทำให้มีอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน แต่จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
     การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
     กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
     อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น



อ้างอิง
http://puechkaset.com/
https://medthai.com/ชะอม/
แมงลัก
ขื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum africanum Lour.
ชื่อวงศ์  LAMIACEAE
ลักษณะททางพฤกษศาสตร์
     ไม้ล้มลุก มีกลิ่นหอมแรง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งปละปลายยอด กลับดอกสีขาว ผลขนาดเล็กสีดำ
สรรพคุณ
     เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้อเฟ้อ ท้องผูก
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้ท้องอืด นำใบมาต้มกิน
     ยาแก้ท้องผู นำเมล็ดมาแช่น้ำกิน
     ลดน้ําหนัก ตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักและความอ้วน เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และมันสามารถพองตัวได้มากถึง 45 เท่า ! เมื่อนำมารับประทานเป็นอาหาร (ควรรับประทานแค่บางมื้อต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารอาหาร) หรือจะรับประทานก่อนอาหารเพื่อทำให้กระเพาะไม่ว่างและรู้สึกอิ่มเป็นการช่วยควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานไปด้วยเป็นอย่างดี สำหรับวิธีชงเม็ดแมงลักก็คือใช้เม็ดแมงลักประมาณ 2 ช้อนชานำมาแช่น้ำ 1 แก้วใหญ่ทิ้งไว้จนพองตัวเต็ม นำมาผสมกับน้ำร้อน 1 แก้วแล้วนำมารับประทาน (หรือจะผสมกับน้ำผึ้ง น้ำสมุนไพร หรือนมก็ได้)
     สรรพคุณล้างลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์แก้ปัญหาอุจจาระตกค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีพยาธิ ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ระบบดูดซึมเสีย และขับถ่ายไม่เป็นเวลา (ช่วงเช้า 05.00 – 07.00 น.)
      ช่วยควบคุมน้ำตาล เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้การดูดซึมของน้ำตาลลดลง เนื่องจากเม็ดแมงลักทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลงอยู่แล้ว












  อ้างอิง
https://medthai.com/แมงลัก/








ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Senna siamea(Lam.) lrwin&Barneby
ชื่อวงศ์  FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้น ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาว
สรรพคุณ
     ราก แก้ไข้ รักษาโรคเหน็บชา
     แก่น แก้ไข้ รักษากามโรค
     ใบอ่อนและดอก ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ทำให้นอนหลับ แก้เบาหวาน
     ทั้งต้น รักษาโรคหนองใน ทำให้เส้นหย่อน
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาช่วยนอนหลับ ยอดต้มกินตอนเย็นจะหลับดี หรือใช้ใบและดอก ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน
     ยาเบาหวาน ใช้ใบต้มเอาน้ำรับประทาน
     ยาช่วยระบาย ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้า
     ยาช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน ใชัทั้งต้น นำมาต้มดื่ม ครั้งละ 1 แก้ว (เช้า-เย็น)
     ยาแก้ไข้ ใช้รากและแก่นต้ม กินน้ำ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง
     แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน
     ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60-100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้











อ้างอิง
https://medthai.com/ขี้เหล็ก/

น้อยหน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์  ANNONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกสีเหลืองนวล ผลเป้นผลกลุ่ม
สรรพคุณ
     ราก เป็นยาระบาย
     เปลือก สมานบาดแผล ห้ามเลือด
     ใบ แก้ฟกบวม ฟอกฝี แผลพุพอง รักษากลากเกลื้อน เป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าหิด เหา หรือเบื่อปลา
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยากำจัดเหา ใช้ใบน้อยหน่า 3-4 ใบ ตำผสมเหล้า ทาให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้ 10-30 นาที เอาผ้าออก เอาหวีสาง เหาจะร่วงลงมา
     ใบน้อยหน่า 1 กิโลกรัม ใบสะเดา 1 กิโลกรัม ตำหรือปั่น เติมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ หมักผม 1 ชั่วโมง ล้างออกและสระผมตามปกติ ทำวันเว้นวันติดต่อกัน 3 ครั้ง
     รักษากลากเกลื้อน เมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดหรือใบน้อยหน่าสดนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น
     รักษาหิด ประโยชน์ของใบน้อยหน่า ใช้เป็นยารักษาหิด ด้วยการใช้สดหรือเมล็ดสดมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ จนกว่าหิดจะหาย
     ฆ่าพยาธิ  สรรพคุณของใบน้อยหน่าช่วยฆ่าพยาธิในเด็ก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15 ใบนำมาต้มกับน้ำ 5 ถ้วยจนเหลือ 3 ถ้วยแล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง
     รักษาตัวจิ๊ด ประโยชน์ของน้อยหน่าใช้เป็นยารักษาจี๊ด ด้วยการใช้เมล็ดสดประมาณ 20 เมล็ดนำมาตำให้ละเอียด แล้วใช้สารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือใส่ในฝาละมี ตั้งไฟอ่อน ๆ เมื่อสารส้มละลายแล้ว ให้โรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นใช้ไม้ป้ายยาที่กำลังร้อนแต่พอให้ผิวหนังทนได้ แล้วป้ายลงตำแหน่งที่บวม ทำวันละ 2 รอบเช้าเย็น จนกว่าจะหาย
      กำจัดเห็บหมัด เมล็ดน้อยหน่ากำจัดเห็บหมัดในสุนัข สูตรเดียวกับกำจัดเหา












อ้างอิง
https://medthai.com/น้อยหน่า/

มะรุม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Moringa oleifera Lam.
ชื่อวงศ์  MORINGACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
       ไม้ต้น ใบประกอบแบบขนนกเรียงเวียนรอบกิ่ง ดอกช่อ สีขาวนวลแกมเหลือง ผลเป็นฝัก
สรรพคุณ
     เปลือก  ขับลมในลำไส้ พอกแผลห้ามเลือด
     ใบ ห้ามเลือด ขับน้ำตา ขับน้ำนม ทำให้นอนหลับ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
     ดอก ขับน้ำตา บำรุงและรักษาดวงตา แก้ตามัว ขับปัสสาวะ แก้ไข้ 
     ผล  ยาบำรุงกำลัง ถอนพิษไข้ แก้ขัดเบา
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยารักษาโรคตา ใช้ส่วนดอกปรุงเป็นอาหารรับประทาน
     รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื้อบุหูอักเสบ ใช้น้ำมันมะรุมหยอดหู
     ยาระบาย รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
     น้ำมันมะรุม
     - นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
     - ใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
     - ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก
     - ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย
     - ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า
     











อ้างอิง
    http://kaset-lifestyle.com/
    https://medthai.com/มะรุม/

มะเขือพวง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์  SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ชอบในเว้าเป็นแฉก ก้านใบมีหนาม ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ และปลายกิ่ง
สรรพคุณ
     ผลและใบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงไต ช่วยรักษาแผลในกระเพราะอาหาร
     ต้นและใบ ตำคั้นน้ำทาพอก หรือต้มน้ำอาบ แก้ชามือชาเท้า อัมพาต
ตำรับยาและวิธีใช้
     ยาช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม ต้มกินน้ำ
     ช่วยแก้พิษในร่างกาย ด้วยการนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงแล้วนำมาต้มดื่ม
     ช่วยรักษารอยเท้าแตก ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณรอบเท้าแตก
     ช่วยแก้โรคตาปลา ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นตาปลา           มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่
      ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสารเพกทินที่ทำหน้าที่ดึงน้ำไว้ได้จำนวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณของอุจจาระ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่ายขึ้นมาก
      มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด
     คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวงสดต่อ 100 กรัม
     - พลังงาน 24 กิโลแคลอรี
     - คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
     - น้ำตาล 2.35 กรัม
     - เส้นใย 3.4 กรัม
     - ไขมัน 0.19 กรัม
     - โปรตีน 1.01 กรัม
     - วิตามินบี 1 0.039 มิลลิกรัม
     - วิตามินบี 2 0.037 มิลลิกรัม
     - วิตามินบี 3 0.649 มิลลิกรัม
     - วิตามินบี 5 0.281 มิลลิกรัม
     - วิตามินบี 6 0.84 มิลลิกรัม
     - วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม
     - วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม
     - ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม
     - ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม
     - ธาตุแมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม
     - ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม
     - ธาตุโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม
     - ธาตุสังกะสี 0.16 มิลลิกรัม
     - ธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : เว็บไซต์หมอชาวบ้าน)











อ้างอิง
https://medthai.com/มะเขือพวง/

จิงจูฉ่าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia lactiflora 
ชื่อวงศ์  ASTERACEAE 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     พืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร
สรรพคุณ
     บำรุงเลือดลม ช่วยประสะเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับสมดุลโลหิต ขับลมในกระเพราะอาหาร และลำไส้ ต้านอนุมูลอิสระ
ตำรับยา/วิธีใช้
     นำจิงจูฉ่าย 1 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่น คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ 2 ครั้ง
ข้อควรระวัง สำหรับผู้หญิงมีครรภ์ไม่ควรทานเพราะอาจจะทำให้ลูกแท้งได้
อ้างอิง
https://www.postsod.com/the-benefits-of-jing-ju-suspension-cancer
https://today.line.me/th/pc/article/

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psdium guajava Linn.
ชื่อวงศ์  MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้น ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ง่ามใบ กลับดอกสีขาว ผลสดค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณ
     แก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ดับกลิ่นปาก สมานแผล ห้ามเลือด ระยายท้อง
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้ท้องร่วง ใช้ใบฝรั่งยอดอ่อนๆ ปิ้งไฟให้เหลืองกรอบ ต้มรับประทาน
     ยาแก้ท้องเสียไม่รุนแรง ใช้ผลดิบเคี้ยวกินน้ำ
     ห้ามเลือด ใช้ในการห้ามเลือดด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)

ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส
     คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรรับประทานร่วมกับพริกเกลือ น้ำตาล หรืออื่น ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย
     คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่งต่อ 165 กรัม
     - พลังงาน 112 กิโลแคลอรี
     - เส้นใยอาหาร 8.9 กรัม 36%
     - โปรตีน 4.2 กรัม 8%
     - ไขมัน 1.6 กรัม 2%
     - คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม 8%
     - วิตามินเอ 1030 IU 21%
     - วิตามินซี 377 มิลลิกรัม 628%
     - วิตามินบี 1 0.1 มิลลิกรัม 7%
     - วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 4%
     - วิตามินบี 3 1.8 มิลลิกรัม 9%
     - กรดโฟลิก 81 ไมโครกรัม 20%
     - ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
     - ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม 7%
     - ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม 2%
     - ธาตุโพแทสเซียม 688 มิลลิกรัม 20%
     - ธาตุทองแดง 0.4 มิลลิกรัม 19%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)












อ้างอิง

https://medthai.com/ฝรั่ง/

ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera(L.) Burm.f.
ชื่อวงศ์  XANTHORRHOEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำมาก ภายในมีวุ้นใส ดอกขช่อ สีเหลืองส้ม
สรรพคุณ
     ใบ รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวไหม้จากแสงแดด และการฉายรังสี
     วุ้นสด แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต รักษาแผลในกระเพราะ
ตำรับยา/วิธีใช้
     รักษาฝีในหู ตัดใบว่านหางจระเข้ ล้างน้ำเอายางออก แล้วขูดเอาเมือกหยอดเข้าไป หยอด 3 ครั้ง รุ่งเช้าอีก 1 วัน
     รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นำวุ้นในใบว่านหางจระเข้มาล้างน้ำเอายางสีเหลืองออก แล้วนำไปวางบนแผล

     ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้
     บรรเทาอาการปวดศีรษะ ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
     รักษาแผลในกระเพราะ วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ
สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
     ยาระบาย ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
     รักษาริดสีดวงทวาร  ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย 
     ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
     ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก 
     รักษาผิว ป้องกันผิวจากแสงแดด วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้
     ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้ ทั้งจากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา 
     ประโยชน์ของว่านหางจระเข้
     1. น้ําว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย
     2. ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุซีลีเนียม ธาตุโครเมียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามิอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 โคลีน และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี 12 ด้วย
     3. ช่วยในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
     4. จากวารสารแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British medical journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
     5.ช่วยป้องกันและแก้อาการเมารถเมาเรือ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้หรือน้ําว่านหางจระเข้เย็น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
     6.การใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเป็นประจำวันละ 2-4 ครั้ง จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
     7. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านตามหัวเข่า, ข้อศอก หรือส้นเท้าได้ เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้แช่ในอ่างอาบน้ำ ในระหว่างอาบให้ใช้เนื้อวุ้นถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการ หากทำเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ผิวพรรณของคุณเนียนนุ่มชื่นชื้นและเต่งตึงได้
     8. ช่วยเติมน้ำให้ผิว ทำให้ผิวหน้าและผิวกายชุ่มชื้น และป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาพอกให้ทั่วบริเวณใบหน้าหรือบริเวณผิวที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้นสดใสและดูเต่งตึงขึ้น
     9. ว่านหางจระเข้รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของสิว ช่วยลดรอยดำจากสิว และช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่างหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ (ไม่แนะให้ใช้กับสิวอักเสบ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย)
     10.ช่วยรักษาจุดด่างดำตามผิวหนัง อันเนื่องมาจากแสงแดดหรือจากอายุที่มากขึ้น ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดนำทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงจะเห็นผล
ช่วยป้องกันการเกิดฝ้า หากใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำก็จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี (ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกัน)
     11.วุ้นจากใบสดใช้ชโลมบนเส้นผม จะช่วยทำให้เส้นผมสลวย ผมดกเป็นเงางาม ช่วยป้องกันและขจัดรังแค ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี และยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะได้อีกด้วย
ในฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ร่วมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า ในการรักษาผมร่วงหรือหนังศีรษะล้าน
     12.ปัจจุบันได้มีการทดลองใช้วุ้นจากใบเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับ (Bedsore)
ช่วยลบท้องลายหลังคลอด ด้วยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
     13.ช่วยแก้เส้นเลือดดำขอดบริเวณขา ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้มาทาบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดเป็นประจำ
     14.สาร Aloctin A พบว่ามันสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็ง ช่วยแก้อาการแพ้ รักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
     15.ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ ที่ผลิตมาจากว่านหางจระเข้ เช่น เครื่องสำอาง โลชัน สบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว ครีมทาใต้ตา ครีมรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ครีมทาแผลสดแผลพุพอง เจลว่านหางจระเข้ เจลทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า ฯลฯ
     16.นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารจำพวกของหวานได้อีกด้วย เช่น น้ำวุ้นลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม นำมาปั่นทำเป็นน้ำว่านหางจระเข้ เป็นต้น












อ้างอิง
https://medthai.com/ว่านหางจระเข้/

พลับพลึงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Crinum × amabile Donn
ชื่อวงศ์  AMARYLLIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษสาสตร์
     เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินขึ้นไปประกอบไปด้วยกาบใบสีขาวหุ้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อออกไปปลูกหรือใช้วิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือในพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เช่น หนอง บึง ริมคลอง เป็นต้น สามารถอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้โดยไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่มากนัก แต่ถ้าต้องการให้มีดอกมากให้ปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง แต่ถ้าต้องการให้ใบสวยให้ปลูกในที่ที่มีแสงแดดรำไร
     ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนสลับกันเป็นวง ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบซึ่งทำหน้าที่เป็นก้านใบห่อหุ้มเป็นเปลือกของลำต้นอยู่ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เมตร ใบเป็นสีเขียว ผิวใบอ่อนนุ่ม อวบน้ำ หนา และเหนียว
     ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ก้านดอกแทงขึ้นออกมาจากกลุ่มของใบตอนปลาย ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกย่อยออกอยู่เป็นกระจุกประมาณ 12-40 ดอก (ช่อดอกของพลับพลึงแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าพลับพลึงขาว) ดอกพลับพลึงแดงกลีบดอกจะมีสีขาวแกมชมพู หรือกลีบด้านบนของดอกเป็นสีม่วงหรือเป็นสีชมพู ส่วนกลีบด้านล่างเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงเลือดหมู ลักษณะของกลีบดอกจะแคบเรียวยาว เมื่อดอกบานเต็มที่ กลีบของดอกจะงองุ้มเข้าหาก้านดอก ดอกมีเกสรยาวยื่นออกมาจากกลางดอก ดอกมีกลิ่นหอมและจะหอมมากในช่วงพลบคล่ำ
      ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะของผลค่อนข้างกลม และเมล็ดมีลักษณะกลม
 สรรพคุณ
     ใบ แก้เคล็ดขัดยอก ซ้ำบวม แก้อาเจียน แก้ช้ำใน แก้เป็นตะคริว บำรุงผิว แก้วิงเวียน
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาประคบแก้ปวดเมื่อย ใช้ใบพลับพลึง ไพล ขมิ้น ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบเปล้า ใบหนาด เกลือแกง การบูร ตำแล้วนำไปห่อผ้า เป็นยาประคบ
      หรือใบสดนำมาลนไฟเพื่อให้อ่อนตัวลง ใช้ประคบหรือพันรักษาแก้อาการเคล็ดขัดยอก แพลง อาการบวม ฟกช้ำบวม จะช่วยในการถอนพิษได้ดี
      หรือใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียวหรือจะใช้ร่วมกับชนิดอื่น ๆ แล้วนำไปตำเพื่อปิดบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อใช้รักษาอาการปวดศีรษะ




























อ้างอิง
https://medthai.com/พลับพลึงแดง/



ขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์ Suregada multiflorum(A. Juss.) Baill
ชื่อวงศ์  EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้นใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกแยกเพศ แยกต้น สีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน
สรรพคุณ
     ราก แก้ลม แก้ประดงและพิษในกระดูก แก้ปวดหลัง เสริมกระดูก แก้ปวดกระดูก ต้านการอักเสบ 
     เปลือก รักาาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน บำรุงเหงือก บำรุงฟัน แก้พิษในกระดูก และขับพยาธิ
     เปลือกและเนื้อไม้ แก้ลมพิษ แก้ประดง รักษากามโรค โรคเรื้อน และมะเร็ง
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยารักษาโรคกลากเกลื้อน ใช้เปลือกต้น นำมาตำพอกหรือคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทา
     ยารักษากามโรค ใช้เนื่อไม้ต้มน้ำดื่ม
     ยาแก้ปวดกระดู ขันทองพยาบาท หญ้าคมปาว ขัดเค้า หญ้าขัดมอน ต้มกิน
     รากขันทองพยาบาท จัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเนาวโลหะ” ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วย รากขันทองพยาบาท รากทองกวาว รากทองพันชั่ง รากใบทอง รากจำปาทอง รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลม แก้ลมที่เป็นพิษ แก้โรคดี แก้เสมหะ ฆ่าพยาธิ สมานลำไส้ ชำระล้างลำไส้ ขับระดูร้าย แก้โรคตับ ถอนพิษ และดับพิษ











อ้างอิง
https://medthai.com/ขันทองพยาบาท/

มะตูม
ฃื่อวิทยาสาสตร์ Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.
ชื่อวงศ์  RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้น ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย เรียงสลับ ดอกช่อ กลับดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ผลสดรูปกลมหรือค่อนข้างกลม
สรรพคุณ
     เปลือกรากและลำต้น แก้ไข้จับสั่น
     ผลอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ขับผายลม แก้ท้องเสีย
     ผลสุ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ทำให้ฉลาด ขับปัสสาวะ
     ราก แก้เหน็บชา แก้พิษแมลงกัดต่อย
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ใบต้มกินหรือตากให้แห้งบดให้ละเอียดทำเป็นลูกกลอนกิน
     ยาบำรุงทำให้ฉลาด กินน้ำต้มลูกมะตูม นำใบอ่อนมาแกงกิน
                                                                หรือกิยกับน้ำพริก เป็นแระจำ
                                                                     ยาแก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ผล ตำกับขิงแห้ง ต้มกิน
ข้อควรระวัง
     การกินมะตูมมากเกินไป ทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากมะตูมมีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย
     สตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
     สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การกินมะตูมอาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำเกินไปได้
     การกินมะตูมก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด











อ้างอิง
https://beezab.com/มะตูม

ย่านาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers
ชื่อวงศ์ MENISPERMACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น ต้นเป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ  รากเป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน ผล มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า
สรรพคุณ
ราก  มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
     ใบ มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
     ข้อควรระวัง
     น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
     การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
     การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

อ้างอิง
https://beezab.com/ใบย่านาง
มะเฟือง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Averrhoa carambola L.
ชื่ิอวงศ์  OXALDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้นขนาดเล็ก ใบประกอบปลายใบคี่ เรียงสลับ ดอกสีม่วง ผลเป็นเหลี่ยม
สรรพคุณ
     เปลือก  แก้ไข้และแก้ท้องเสีย
     ใบ ขับปัสสาวะ แก้เม็ดผดผื่น ห้ามเลือด แก้ปวด
     ผล แก้ไอ ขับเสมหะแก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บิด ลดอักเสบ บวม ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาขับนิ่ว ใช้ผล ผสมกับสารส้ม หรือสุรากินแก้โรคนิ่ว
     แก้ไข้ ขับระดู ขับปัสสาวะ ด้วยการนำใบมะเฟืองมาต้มผสมกับน้ำ
     รักษากลาก เกลื้อน ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
     ลดอาการอักเสบ ช้ำบวม ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
     รักษาตุ่มอีสุกอีใสตามร่างกาย ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
     ดับพิษร้อนในร่างกาย เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
     บรรเทาอาการปวดศีรษะ เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
     บรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
     บรรเทาอาการปวดแสบในกระเพาะอาหาร เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม

     คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด ต่อ 100 กรัม
     -พลังงาน 31 กิโลแคลอรี
     -คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
     -น้ำตาล 3.98 กรัม
     -เส้นใย 2.8 กรัม
     -ไขมัน 0.33 กรัม
      -โปรตีน 1.04 กรัม
      -ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม
      -วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม 1%
      -วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม 1%
      -วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม 2%
      -วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม 8%
      -วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม 1%
      -วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม 3%
      -โคลีน 7.6 มิลลิกรัม 2%
      -วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม 41%
      -วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม 1%
      -ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม 0%
      -ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม 1%
      -ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
      -ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม 2%
      -ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม 2%
      -ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม 3%
      -ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
      -ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
“ผู้ที่สุขภาพเป็นปกติรับประทานมะเฟืองได้ แต่อย่ารับประทานบ่อย เน้นรับประทานมะเฟืองหวาน ผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อโรคไต ห้ามรับประทานเด็ดขาด”

อ้างอิง

https://medthai.com/มะเฟือง/

ตะลิงปลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Averrhoa bilimbi L.
ชื่อวงศ์  OXALIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้ต้นขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนรอบกิ่ง ดอกสีแดงคล้ำมีกลิ่นหอม
สรรพคุณ
     ใบ รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ รักษากามโรค รักษาสิว แก้คัน แก้คางทูม
     ดอก แก้ไอ
     ผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดกระดูก แก้เลือดออกตามไรฟัน และรักษาริดสีดวงทวาร
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้กามโรค  ใช้ใบต้มหรือตากแห้งแลัวบดชงน้ำร้อนดื่ม
     แก้ไอ ดอกตะลิงปลิงนำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ
     แก้อาการคัน ใบตะลิงปลิงใช้พอกแก้อาการคัน ลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้
     รักษาอาการอักเสบของลำไส้ ใช้ใบหรือราก ต้มดื่ม
      คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม
     -โปรตีน 0.61 กรัม
     -แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม
     -วิตามินบี 1 0.010 มิลลิกรัม
     -วิตามินบี 2 0.026 มิลลิกรัม
     -วิตามินบี 3 0.302 มิลลิกรัม
     -วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม
     -ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม
     -ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม
     -ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม
     ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)











อ้างอิง
https://medthai.com/ตะลิงปลิง/

ลำโพง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Datura metel L.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Datura alba Rumph. ex Nees 
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
   จัดเป็นไม้ล้มลุก ที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีขนาดเล็กเท่าต้นมะเขือพวง มีความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร ลำต้นกลมตั้งตรง แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ต้น ลำโพงขาวต้นจะเป็นสีเขียว ลำต้นเปราะแต่เปลือกต้นเหนียว ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
     ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ แต่ใบบริเวณปลายกิ่งเกือบจะเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบคล้ายกับใบมะเขือพวงเชนกัน แผ่นใบเป็นรูปไข่หรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงและเว้าเข้าหากันแต่มีขนาดไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเป็นคลื่นและหยักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร
     ดอกเดี่ยวตามง่ามใบหรือส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรหรือลำโพงขนาดใหญ่ ดอกจะมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตรชั้นเดียว ดอกเป็นสีขาวและมีขนปกคลุม (แต่ถ้าเป็นลำโพงกาสลัก ดอกจะเป็นสีม่วงและปลายกลีบซ้อนกันประมาณ 2-3 ชั้น) โคนดอกมีกลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวหุ้มอยู่ และยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร แตกออกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน
     เมื่อดอกร่วงโรยไปจะติดผล ลักษณะของผลเป็นลูกกลมขนาดเท่ากับผลมะเขือเปราะ แต่ปกคลุมไปด้วยหนามแหลมยาวทั้งผล ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลมีขนาดโตประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อแก่จัดผลจะแตกภายในแบ่งเป็น 4 ซีก ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำและมีลักษณะแบน เป็นรูปสามเหลี่ยม
     สรรพคุณ
     เมล็ด บำรุงประสาท รักษาหูน้ำหนวก แก้ปวดกระเพราะ แกโรคผิวหนังรักษากลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อย
     ดอก แก้อาการหอบหืด แก้การตีบตัวของหลอดลม
     ใบ  แก้อาการปวดหู แก้คลื่นไส้อาเจียรจากการเมารถเมาเรือ แก้พิษแมลงกัดต่อย
     ราก ลดอาการบวม อักเสบ แก้พิษร้อน ดับพิษร้อน 
     ตำรับยา/วิธีใช้
     แก้อาการหอบหืด  นำดอกมาหั่นตากแห้งผสมกับยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด แก้การตีบตัวของหลอดลม โดยให้ใช้สูบตอนที่มีอาการหอบหืดกำเริบ ให้สูบจนกว่าอาการจะหายไป 
      ข้อควรระวัง วิธีนี้เด็กไม่ควรใช้ และไม่ควรสูบมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ได้รับพิษได้
     ดับพิษร้อน แก้พิษร้อน ใช้รากฝนทาบริเวณที่มีอาการ
     แก้อาการปวดเมื่อย 
     - ใช้เมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาทุบให้พอกแหลก แล้วแช่กับน้ำมันพืชไว้ประมาณ 7 วัน (เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ฯลฯ หรือนำมาดองกับเหล้าก็ได้) ใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยหรือขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้
     - ใช้เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวด แก้ชัก แก้เหน็บชาเนื่องจากลมชื้น และช่วยขับลม ส่วนเมล็ดที่นำไปคั่วให้น้ำมันในเมล็ดออก ใช้เป็นยาแก้ปวดข้อ ขาบวม ปวดบวม แก้พิษฝี ส่วนมากใช้เป็นยาภายนอก
     - ใช้ดอกลำโพงมาดองกับเหล้า 500 ซีซี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชาจีน วันละ 2 ครั้ง จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้


อ้างอิง
https://medthai.com/ลำโพง
พริกไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Piper nigrum L.
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้เถามีรากยึดเกาะไปตามต้นไม้ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ สีขาวแกมเขียว ผลกลม รสเผ็ดร้อน
     พริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลม ๆ ติดกันอยู่เป็นพวง สรรพคุณ
     ใบ แก้ลมจุกเสียด
     ดอก แก้ตาแดง
     ผล ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเลือดลมไหลเวียนดี บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ขับปัสสาวะ และกระตุ้นประสาท
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้ลมจุกเสียด ดีปลี พริกไทย กระวาน กานพลู หัสคุณ ผิวมะกรูด อย่างละเท่ากัน บดละลายน้ำร้อนกิน ครั้งละ 1 ช้อนชา
     ยาบำรุงกำลัง  พริกไทยป่น 1 ช้อนชาพูนๆ กับเกลือเล็กน้อย ผสมไข่ลวก 2 ฟองกับน้ำร้อน ตีให้แตก กินทุกเช้า
     ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง ด้วยการใช้พริกไทยดำ ใบบัวบกแห้ง ใบกะเพราแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ กินครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น
     ช่วยรักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว โดยใช้พริกไทย น้ำกะทิ และไข่ไก่ ตีให้เข้ากันแล้วตุ๋นจนสุก และนำพริกไทยขาวเข้าเครื่องยากับเปลือกไข่ไก่ นำไปผิงไฟให้เหลือง แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำต้มสุก และยังช่วยรักษาอาการชักจากการขาดแคลเซียมได้อีกด้วย
      รักษากระดูกหัก ด้วยการใช้พริกไทย 5 เมล็ด เปลือกต้นของสบู่ขาว และต้นส้มกบ นำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วผัดให้อุ่น พอกให้หนา และใช้ไม้พันผ้าให้แน่น
      ใช้ทำเป็นยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย ด้วยการใช้พริกไทยขาว ข้าวสารคั่วเกลือทะเล อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดจนเป็นผงและปั้นผสมกับน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา รับประทานก่อนอาหารเช้า เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 1 เม็ด จะช่วยทำให้สุขภาพอนามัยดีขึ้นภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน
     ช่วยทำให้ผิวสวย ด้วยการใช้พริกไทย ขมิ้นอ้อย กระชาย แห้วหมู นำมาทุบแล้วดองด้วยน้ำผึ้ง นำมารับประทานก่อนนอนทุกวัน จะช่วยทำให้ผิวสวยใสมากยิ่งขึ้น
     ต่อต้านความอ้วน พริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยต่อต้านความอ้วน เพราะมีสารพิเพอรีนที่มีรสฉุนและเผ็ดร้อน จึงช่วยขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้น
     ในปัจจุบันพริกไทยดำได้ถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย (Black pepper oil) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้านพิษต่าง ๆ ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท (น้ำมันพริกไทย)











อ้างอิง
https://medthai.com/พริกไทย/