วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561




อบเชยเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum verum J.Presl
ชื่อวงศ์  LAURACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบสามเส้น ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่
สรรพคุณ
     เปลือก  แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย ขับเสมหะ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้โรคหนองใน แก้โทษน้ำคาวปลา โรยรักษาแผลกามโรค
     ทั้งห้า รักาาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
     เมล็ด แก้ท้องเสียในเด็ก
     รากและใบ  อักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ
ตำรับยา/วิธีใช้
     ยาแก้โรคหนองใน เปลือกนำมาต้มหรือทำเป็นผงรับประทาน
     ยาแก้ท้องเสียในเด็ก  นำเมล็ดมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้งให้เด็กกิน
     รักษาอาการอักเสบของสตรีหลังคลอดบุตร  ใช้รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ
      ขับผายลมแก้จุกเสียด เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาน้ำ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย
     อบเชยจัดอยู่ในพิกัดยาไทยร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ หลายตำรับ ได้แก่ 
     พิกัดตรีธาตุ เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้ไข้ แก้เสมหะ
     พิกัดตรีทิพย์รส เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ
     พิกัดจตุวาตะผล เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง แก้ตรีสมุฏฐาน            พิกัดทศกุลาผล (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้เสมหะ บำรุงปอด ขับลมในลำไส้ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต
 
อ้างอิง
https://medthai.com/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น