กระทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet (L.) Smith.
ชื่อวงศ์ ZINGIBER
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระทือเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดิน กลม สูง 1-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นจะเหี่ยวแห้งในหน้าแล้งแต่จะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้นดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน
ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
สรรพคุณ
ราก แก้ไข้ตัวเย็นใบ ขับลม ขับเลือดเสียในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
ดอก แก้ผอมเหลือง แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น
เกสร แก้ลม บำรุงธาตุ
ต้น ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้แก้ฝี
เหง้า รักษาอาการท้องอืด ท้อเฟ้อ จุกเสียดแน่น แก้อาการเคล็ดขัดยอก
ตำรับยา/วิธีใช้
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้องบิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
แก้อาการเคล็ดขัดยอก เหง้าและรากช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ ให้นำหัวกระทือมาฝนแล้วใช้น้ำยาจากกระทือทาบริเวณที่มีอาการเคล็ดขัดยอก
เข้าพิกัดยา “พิกัดตรีผลธาตุ” สมุนไพร 3 ชนิด คือ เหง้ากระทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้หอม สรรพคุณบำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้เลือดกำเดาไหล
อ้างอิง
https://www.matichonweekly.com/lifestyle/article_18643
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น