ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata (L.) Will.subsp.insuavis
Nielsen
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นมีอายุนานหลายปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย ทำให้มีทรงพุ่มโปร่ง กิ่งมีขนาดเล็ก แต่ยาวได้หลายเมตร ลำต้น และกิ่งมีหนามแหลม เปลือกลำต้น และกิ่งค่อนข้างบาง เปลือกผิวเรียบ ไม่แตกสะเก็ด ผิวเปลือกมีสีเทาอมเขียว
ใบประกอบ มีก้านใบหลัก ยาว 15-20 ซม. ก้านใบหลักแตกเป็นก้านใบย่อยเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 8-12 ก้าน แต่ละก้านใบย่อยประกอบด้วยใบขนาดเล็กจำนวนมาก ใบจะอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ 15-28 คู่ ใบมีลักษณะรูปไข่ ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ใบบริเวณยอดอ่อนหุบพับเข้าประกบกัน ต่อมาค่อยแผ่กางออก ยอดอ่อนมีกลิ่นฉุนแรง
ดอกเป็นช่อ แทงออกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว มีเกสรตัวผู้เป็นเส้นเล็กๆภายในดอก
ใบชะอม ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ
เปลือกชะอม เปลือกชะอมบดผสมกับฟ้าทะลายโจร และสะเดา ใช้รับประทาน สำหรับช่วยขับพยาธิ
เปลือกหรือลำต้นชะอมต้มน้ำกิน ช่วยเป็นยาขับลม ช่วยขับปัสสาวะ น้ำต้มจากเปลือกหรือลำต้นชะอมช่วยแก้อาหารท้องเสีย และลดอาการอาหารเป็นพิษ
ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับพยาธิ น้ำต้มจากรากชะอมช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร หรือนำรากมาฝนเป็นผง ใช้ทาประคบแผล ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ ทำให้แผลแห้งหายได้เร็วขึ้น
เปลือกชะอม เปลือกชะอมบดผสมกับฟ้าทะลายโจร และสะเดา ใช้รับประทาน สำหรับช่วยขับพยาธิ
เปลือกหรือลำต้นชะอมต้มน้ำกิน ช่วยเป็นยาขับลม ช่วยขับปัสสาวะ น้ำต้มจากเปลือกหรือลำต้นชะอมช่วยแก้อาหารท้องเสีย และลดอาการอาหารเป็นพิษ
ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับพยาธิ น้ำต้มจากรากชะอมช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร หรือนำรากมาฝนเป็นผง ใช้ทาประคบแผล ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ ทำให้แผลแห้งหายได้เร็วขึ้น
บำรุงสายตาและต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
ข้อควรระวัง
ชะอมมีกลิ่นฉุนแรง การรับประทานชะอมสดมักทำให้เกิดกลิ่นปากแรง
สตรีหลังคลอดบุตรหรืออยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะอม เนื่องจาก ยอดชะอมมักทำให้เกิดอาการแพ้ท้องหรือเกิดอาการแสลงของสตรีที่ให้นมบุตร ซึ่งทั่วไปมักทำให้มีอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน แต่จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)ข้อควรระวัง
ชะอมมีกลิ่นฉุนแรง การรับประทานชะอมสดมักทำให้เกิดกลิ่นปากแรง
สตรีหลังคลอดบุตรหรืออยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะอม เนื่องจาก ยอดชะอมมักทำให้เกิดอาการแพ้ท้องหรือเกิดอาการแสลงของสตรีที่ให้นมบุตร ซึ่งทั่วไปมักทำให้มีอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน แต่จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น
อ้างอิง
http://puechkaset.com/
https://medthai.com/ชะอม/
http://puechkaset.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น